วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

7. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System: ES)

           การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการ วิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหา ต่างๆ ได้จากฐาน ความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรคหรือเครื่อง คอมพิวเตอร์ ทำนายโชคชะตา เป็นต้น
    
ส่วนที่หนึ่ง      การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system development) พัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ซึ่งเป็นวิศวกรที่มีความรู้ (Knowledge engineer) แล้วพัฒนาเป็นโปรแกรมระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system shell) ซึ่งเป็นตัวช่วยในการทำงานแล้วได้มาซึ่งความรู้ (Knowledge acquisition) ซึ่งนำไปเก็บไว้เป็นส่วนหนึ่งของฐานความรู้ (Knowledge base)

ส่วนที่สอง       ระบบผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติการ (Operational expert system) เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ทำหน้าที่คุมการทำงานของซอฟต์แวร์ทั้งหมด รวมทั้งการปฏิบัติงานของโปรแกรมด้วย เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเครื่อง คอมพิวเตอร์จะให้คำแนะนำ (Facts of immediate problem) เข้าไปจากตัวเชื่อมผู้ใช้ (User interface) ไปที่เครื่องช่วยอธิบาย (Explanation facility) ไป 2 ทางคือ กลไกอนุมาน (Inference engine) หาจากหน่วยความจำ (Working memory) และเป็นฐานความรู้ (Knowledge base)

การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ
1. การวิเคราะห์ปัญหา     ผู้พัฒนาระบบความฉลาดจะดำเนินการพิจารณาถึงความต้องการความ เหมาะสม และความเป็นไปได้ของการนำระบบไปใช้งานในl สถานการณ์จริง โดยทำความเข้าใจกับปัญหา

2. การเลือกอุปกรณ์     ผู้พัฒนาระบบต้องพิจารณาเลือกอุปกรณ์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของ ES ซึ่งแต่ละส่วนจะมีความต้องการ อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมแตกต่างกันโดย
พิจารณาความเหมาะสมของส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
       2.1 การแสดงความรู้
       2.2 เครื่องอนุมาน
       2.3 การติดต่อกับผู้ใช้ ES
       2.4 ชุดคำสั่ง โดยภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมนำมาใช้ในการพัฒนาระบบความฉลาดได้แก่ โปรลอก (PROLOG) และลิปส์ (LIPS) เอกซ์ซีส (EXSYS) เป็นต้น
       2.5 การธำรงรักษาและการพัฒนาระบบ

3. การถอดความรู้
               ผู้พัฒนาระบบต้องทำการสังเกต ศึกษา และทำความเข้าใจกับความรู้ที่จะ นำมา พัฒนาเป็น ES จากแหล่งอ้างอิง หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น เพื่อการ กำหนดขอบเขตที่เหมาะสมของระบบ โดยที่เราเรียกกระบวนการนี้ว่า "วิศวกรรมความรู้ (knowledge engineering)"

4. การสร้างต้นแบบ
               ผู้พัฒนา ES จะนำเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวมามาประกอบการสร้าง สร้างต้นแบบ (Prototype) ของ ES โดยผู้พัฒนาระบบจะเริ่มต้นจากการ นำแนวความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบที่ต้องการพัฒนา มาจัดเรียงลำดับ พร้อมทั้งทดสอบการทำงานของต้นแบบที่สร้างขึ้นว่าสามารถทำงานได้ตามที่
ได้วางแผนไว้หรือไม่

5. การขยาย การทดสอบและบำรุงรักษา      หลังจากที่ต้นแบบได้ถูกสร้างขึ้นและสามารถผ่านการทดสอบการทำงานแล้ว เพื่อที่จะได้ระบบสามารถนำไปใช้สภาวการณ์จริงได้

การสรุปความของระบบผู้เชี่ยวชาญ
     การสรุปความ การสรุปความของระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับคำหลัก
อยู่ 2 คำ ได้แก่ การให้เหตุผล (Reasoning) และการอนุมาน (Inference) การให้เหตุผล หมายถึงกระบวนการของการทำงาน เพื่อที่จะสรุปความโดยใช้ องค์ความรู้ที่มีข้อเท็จจริง และวิธีการแก้ปัญหาเข้ามาผสมผสานกันการให้ เหตุผลในระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำงานโดยใช้เทคนิคการอนุมาน
ที่มา: http://exitexam.tsu.ac.th


8. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS)

กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้  เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและ
สื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
            GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ องค์ประกอบของ GIS
                 องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น Digitizer, Scanner, Plotter, Printerหรืออื่นๆเพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูลประมวลผลแสดงผลและผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน

โปรแกรม คือ ชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่น การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล, จัดการระบบฐานข้อมูล, เรียกค้น, วิเคราะห์ และ จำลองภาพ

ข้อมูล คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแล จากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร

บุคลากร คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS

วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน
คือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ เอง
               
หน้าที่ของ GIS
ภาระหน้าที่หลัก ๆ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ควรจะมีอยู่ด้วยกัน 5 อย่างดังนี้
1.              การนำเข้าข้อมูล (Input)
ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลข (digital format) เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าเช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น

2.              การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)
ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกัน หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ใน ระดับเดียวกันเสียก่อน

3.              การบริหารข้อมูล (Management)
ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS มาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS ที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดคือ DBMS แบบ Relational หรือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (DBMS) ซึ่งมีหลักการทำงานพื้นฐานดังนี้คือ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ ในรูปของตารางหลาย ๆ ตาราง

4.              การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)
เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น  ใครคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนที่ติดกับโรงเรียน

5.              การนำเสนอข้อมูล (Visualization)
จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั้งระบบมัลติมีเดียสื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ดียิ่งขึ้น อีก ทั้งเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังอีกด้วย

ที่มา:  http://mju48810024.tripod.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น