วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

9. ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence Systems: BI)

Businese Intelligence หรือ BI คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจทางธรุกิจ โดยการสกัดสาระสำคัญออกจากกองข้อมูลจำนวนมหาศาล แล้วนำเสนอในรูปแบบที่สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย เช่น ในรูปแบบรายงาน ตาราง กราฟ หรือแผนที่ เปรียบเทียบข้อมูลในส่วนต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ทำให้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์และวางแผนการณ์ต่างๆ ให้กับธุรกิจในด้านต่างๆ ได้โดยสะดวก เช่น
      - วิเคราะห์ยอดขายของสินค้าแต่ละตัวว่าสินค้าไหนมียอดขายเป็นอย่างไร เพื่อวางแผนการสั่งซื้อ
      -วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการซื้อสินค้าแต่ละชนิด เพื่อวางแผนการจัดทำโปรโมชั่น
      -วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างที่ตั้งสาขาและยอดการสั่งจองสินค้าแต่ละประเภท เพื่อวางแผนการตลาด
      -วิเคราะห์ประมาณการสั่งซื้อสินค้าในแต่ละช่วงเวลา เพื่อวางแผนการผลิต

องค์ประกอบของซอฟต์แวร์ BI มีองค์ประกอบหลักๆ สามส่วน คือ
     -ส่วนรวบรวมข้อมูล สำหรับจัดการ จำแนก รวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปที่ง่ายต่อการประมวลผล เช่น โปรแกรมประเภท
ETL (Extract-Transform-Load)
     -ส่วนวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับดึงส่วนที่น่าสนใจออกจากข้อมูลที่เก็บไว้ เช่น ระบบ Data mining, OLAP
     -ส่วนแสดงผลข้อมูล ใช้สำหรับ นำข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วมาแสดงผลให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย เช่น Report, Chart, Graph, Dashboard

ประโยชน์ของซอฟต์แวร์ BI ที่มีต่อธุรกิจและองค์กร ได้ดังนี้
    -ช่วยเพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจให้ถูกต้องและรวดเร็วจากข้อมูลที่มีอยู่ โดยเห็นภาพพจน์ของข้อมูลที่มีก่อนการตัดสินใจ
    -เพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในองค์กร โดยสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในผ่านเครือข่ายได้ในแบบอัตโนมัติ
   -ลดต้นทุนทั้งด้านเงินและเวลาในการเข้าถึงข้อมูลองค์กร ทั้งในเรื่องการทำรายงานที่ซ้ำซ้อน หรือการแสดงผลข้อมูลที่ทำเป็นประจำ ที่สามารถถูกสร้างขึ้นได้โดยอัตโนมัติตามช่วงเวลาหรือเมื่อมีข้อมูล
ที่มา:  http://pentaho.mm.co.th

ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้งาน
บริษัท ทรูมูฟ จำกัด มหาชน
             ได้มีการใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะในการทำธุรกิจเช่น การติดต่อสื่อสารบริการลูกค้า การจัดซื้อเพ็กเก็จของลูกค้าที่ใช้ในระบบออนไลน์ และมีการวิเคราะห์ยอดการขายสินค้าหรือแพ็กเกจ การวิเคราะห์กำไรและรายได้ต่างๆของบริษัท วิเคราะห์แผนการตลาดต่างๆของบริษัทวิเคราะห์การเป็นไปของตลาดแวดล้อมอีกด้วย

ที่มา: http://truecorp.co.th


บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)
 CAT Telecom ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำธุรกิจอัจฉริยะ ซึ่งกำลังกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในปัจจุบัน และช่วยให้สินค้าและบริการของ CAT Telecom สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล/เหมืองข้อมูล (Data Warehouse/Data Mining) มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้มีศูนย์กลางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของ CAT Telecom ทั้งข้อมูลจากแหล่งภายในและภายนอกองค์กร สนับสนุนการทำงานทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูลและการจัดทำรายงานข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการตัดสินใจ โดยมุ่งเน้นให้ระบบมีการทำงาน/ประมวลผลแบบอัตโนมัติมากที่สุด



ที่มา:  http://image.bangkokbiznews.com
7. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System: ES)

           การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการ วิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหา ต่างๆ ได้จากฐาน ความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรคหรือเครื่อง คอมพิวเตอร์ ทำนายโชคชะตา เป็นต้น
    
ส่วนที่หนึ่ง      การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system development) พัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ซึ่งเป็นวิศวกรที่มีความรู้ (Knowledge engineer) แล้วพัฒนาเป็นโปรแกรมระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system shell) ซึ่งเป็นตัวช่วยในการทำงานแล้วได้มาซึ่งความรู้ (Knowledge acquisition) ซึ่งนำไปเก็บไว้เป็นส่วนหนึ่งของฐานความรู้ (Knowledge base)

ส่วนที่สอง       ระบบผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติการ (Operational expert system) เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ทำหน้าที่คุมการทำงานของซอฟต์แวร์ทั้งหมด รวมทั้งการปฏิบัติงานของโปรแกรมด้วย เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเครื่อง คอมพิวเตอร์จะให้คำแนะนำ (Facts of immediate problem) เข้าไปจากตัวเชื่อมผู้ใช้ (User interface) ไปที่เครื่องช่วยอธิบาย (Explanation facility) ไป 2 ทางคือ กลไกอนุมาน (Inference engine) หาจากหน่วยความจำ (Working memory) และเป็นฐานความรู้ (Knowledge base)

การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ
1. การวิเคราะห์ปัญหา     ผู้พัฒนาระบบความฉลาดจะดำเนินการพิจารณาถึงความต้องการความ เหมาะสม และความเป็นไปได้ของการนำระบบไปใช้งานในl สถานการณ์จริง โดยทำความเข้าใจกับปัญหา

2. การเลือกอุปกรณ์     ผู้พัฒนาระบบต้องพิจารณาเลือกอุปกรณ์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของ ES ซึ่งแต่ละส่วนจะมีความต้องการ อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมแตกต่างกันโดย
พิจารณาความเหมาะสมของส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
       2.1 การแสดงความรู้
       2.2 เครื่องอนุมาน
       2.3 การติดต่อกับผู้ใช้ ES
       2.4 ชุดคำสั่ง โดยภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมนำมาใช้ในการพัฒนาระบบความฉลาดได้แก่ โปรลอก (PROLOG) และลิปส์ (LIPS) เอกซ์ซีส (EXSYS) เป็นต้น
       2.5 การธำรงรักษาและการพัฒนาระบบ

3. การถอดความรู้
               ผู้พัฒนาระบบต้องทำการสังเกต ศึกษา และทำความเข้าใจกับความรู้ที่จะ นำมา พัฒนาเป็น ES จากแหล่งอ้างอิง หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น เพื่อการ กำหนดขอบเขตที่เหมาะสมของระบบ โดยที่เราเรียกกระบวนการนี้ว่า "วิศวกรรมความรู้ (knowledge engineering)"

4. การสร้างต้นแบบ
               ผู้พัฒนา ES จะนำเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวมามาประกอบการสร้าง สร้างต้นแบบ (Prototype) ของ ES โดยผู้พัฒนาระบบจะเริ่มต้นจากการ นำแนวความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบที่ต้องการพัฒนา มาจัดเรียงลำดับ พร้อมทั้งทดสอบการทำงานของต้นแบบที่สร้างขึ้นว่าสามารถทำงานได้ตามที่
ได้วางแผนไว้หรือไม่

5. การขยาย การทดสอบและบำรุงรักษา      หลังจากที่ต้นแบบได้ถูกสร้างขึ้นและสามารถผ่านการทดสอบการทำงานแล้ว เพื่อที่จะได้ระบบสามารถนำไปใช้สภาวการณ์จริงได้

การสรุปความของระบบผู้เชี่ยวชาญ
     การสรุปความ การสรุปความของระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับคำหลัก
อยู่ 2 คำ ได้แก่ การให้เหตุผล (Reasoning) และการอนุมาน (Inference) การให้เหตุผล หมายถึงกระบวนการของการทำงาน เพื่อที่จะสรุปความโดยใช้ องค์ความรู้ที่มีข้อเท็จจริง และวิธีการแก้ปัญหาเข้ามาผสมผสานกันการให้ เหตุผลในระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำงานโดยใช้เทคนิคการอนุมาน
ที่มา: http://exitexam.tsu.ac.th


8. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS)

กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้  เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและ
สื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
            GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ องค์ประกอบของ GIS
                 องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น Digitizer, Scanner, Plotter, Printerหรืออื่นๆเพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูลประมวลผลแสดงผลและผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน

โปรแกรม คือ ชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่น การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล, จัดการระบบฐานข้อมูล, เรียกค้น, วิเคราะห์ และ จำลองภาพ

ข้อมูล คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแล จากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร

บุคลากร คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS

วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน
คือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ เอง
               
หน้าที่ของ GIS
ภาระหน้าที่หลัก ๆ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ควรจะมีอยู่ด้วยกัน 5 อย่างดังนี้
1.              การนำเข้าข้อมูล (Input)
ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลข (digital format) เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าเช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น

2.              การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)
ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกัน หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ใน ระดับเดียวกันเสียก่อน

3.              การบริหารข้อมูล (Management)
ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS มาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS ที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดคือ DBMS แบบ Relational หรือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (DBMS) ซึ่งมีหลักการทำงานพื้นฐานดังนี้คือ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ ในรูปของตารางหลาย ๆ ตาราง

4.              การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)
เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น  ใครคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนที่ติดกับโรงเรียน

5.              การนำเสนอข้อมูล (Visualization)
จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั้งระบบมัลติมีเดียสื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ดียิ่งขึ้น อีก ทั้งเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังอีกด้วย

ที่มา:  http://mju48810024.tripod.com


5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSSยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ดังนั้นหลักการของDSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น

6.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems :EIS)

การที่นำระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ในการดำเนินงานทางธุรกิจ การจัดการระบบสารสนเทศได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จในการ ดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสร้างความแข็งแกรงเชิงกลยุทธ์ โดยพัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ ขององค์การมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การผลิต การขาย การตลาด การจัดการทางการเงิน และทรัพยากรบุคคล ประการสำคัญหลายองค์การได้ให้ความสนใจในการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับผู้ บริหาร เพื่อให้การตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสทางธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems) หรือที่เรียกว่า EIS หมาย ถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องการข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะด้านระยะเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันทางธุรกิจที่เกิดขึ้นและปรับตัวอย่าง รวดเร็วในปัจจุบันได้สร้างแรงกดดันให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัด ของทรัพยากรทางการจัดการ ระยะเวลา ข้อมูล และการดำเนินงานของคู่แข่งขัน นอกจากนี้ผู้บริหารหลายคนยังมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศที่จำกัด โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีอายุมากและไม่มีโอกาสได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการใช้งานสารสนเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและออกแบบระบบสารสนเทศที่สามารถช่วย ให้ผู้บริหารปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหารต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร บางครั้งจะเรียกว่า ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (Executive Support System) หรือ ESS
ที่มา:  https://arnono120.wordpress.com
3. ระบบการประมวลผลรายการ (Transaction Processing System : TPS)
               ระบบประมวลผลรายการ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ, ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการ ออกมาได้ รายการ (Transaction) คือ การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การขายสินค้า การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าผ่านเครดิตการ์ดและการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง จัดเป็นรายการทั้งสิ้น ระบบประมวลผลรายการนิยมใช้ในการประมวลผลบัญชี, การขาย, หรือประมวลผลข้อมูลสินค้าคงคลัง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของระบบสารสนเทศอื่นๆในองค์กร
ในการดำเนินการของระบบประมวลผลรายการ ข้อมูลถูกนำเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของระบบสารสนเทศ โดยใช้แป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จนกระทั่งพร้อมที่จะถูกประมวลผล หลังจากที่ข้อมูลถูกป้อนเข้าไปแล้ว จะเกิดการประมวลผลเพื่อเปลี่ยนข้อมูลเป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการจัดการ โดยระบบประมวลผลรายการจะทำการบันทึกรายการลงในฐานข้อมูลและผลิตเอกสารที่เกี่ยวข้องกับรายการนั้นออกมา อาจอยู่ในรูปแบบของรายงาน, ตาราง, กราฟ,ภาพเคลื่อนไหว และเสียงฯลฯ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศนั้นๆ

4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System-MIS)
              ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ

1.      ระบบสารสนเทศตามประเภทของธุรกิจ

ระบบสารสนเทศของบริษัทนมเปรี้ยวดัชมิลล์
1. ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (Accounting Information System)                                         
              หรือเรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดค่าได้ หรือการประมวลผลเชิงปริมาณมากว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ

2. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information System)
                จะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (Liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุนอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและอ้อม

3. ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing Information System)
ระบบสารสนเทศทางการตลาด จะประกอบด้วยระบบหน่อย ซึ่งแบ่งตามหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
1. ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย
2. ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด
3. ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
4. ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ
5. ระบบสารสนเทศสำหรับการพยากรณ์การขาย
6. ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
7. ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
8. ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย

4. ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (Production and Operations Information System 
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน จะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ผู้ผลิตสามารถพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไปตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะส

5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผนการจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินงานการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกดประสิทธิภาพ
ที่มา: http://www.prakan.ac.th/

2.  ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Syatem:OAS)
 สำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation หรือ OA) เป็นแนวคิดในการนำเอาระบบเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ และผนวกด้วยซอฟต์แวร์สำหรับช่วยงานในสำนักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้เป็นสำนักงานไร้กระดาษ โดยให้ทำงานต่อไปนี้
                    - สื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
                   - จัดพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และมีคุณภาพ
                   - การออกแบบสิ่งพิมพ์และเอกสาร โดยโปรแกรมที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในขณะนี้ก็คือโปรแกรม PageMaker
                   - รับข้อความจากผู้โทรศัพท์เข้ามาติดต่อแล้วบันทึกเสียงนั้นไว้หากผู้รับไม่อยู่ในสำนักงาน
                  - บันทึกภาพลักษณ์ (Inage) ของเอกสารต่าง ๆ ไว้ในระบบประมวลภาพลักษณ์ (Image Processing System
                  - มีระบบประชุมทางไกล (Video Teleconference) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์สื่อสาร และกล้องวีดิทัศน์ ทำให้ผู้บริหารหน่วยงานสามารถประชุมปรึกษาหารือกับผู้บริหารที่อยู่คนละสถานที่โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปประชุมด้วยกัน




              รายชื่อคณะผู้จัดทำ
  1. น.ส.ศิรินุช กำเนิดไพร                58124812
  2. นายกฤษณะ มีตน                       58124822
  3. น.ส.นภาพร ชายคำ                    58124828
  4. น.ส.แคทริยา แก้วสืบ                 58124855
  5. น.ส.สุพรรณษา เหลาพนัสสัก    58124839
  6. น.ส.พรสุภา ญาณะวัฒน์            58124835